Monday, April 4, 2016

กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic Acid)

กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic Acid)

กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic Acid, ALA) สามารถละลายได้ทั้งในน้ำ และ ไขมัน เป็นคุณสมบัติเด่นที่ทำให้ กรดอัลฟ่าไลโปอิก แตกต่างจากสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น ทำให้สามารถเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในชั้นลึกสุดของเซลล์ จึงทำให้สามารถแทรกซึมเข้าไปต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในเซลล์ได้ทั่วทุกเซลล์ในร่างกาย
กรดอัลฟ่าไลโปอิก จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง จนได้รับการขนานนามว่า สารต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาล (Universal Antioxidant) คือ เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินซี, วิตามินอี, กูลต้าไทโอน และโคเอ็นไซม์คิว 10 และยังช่วยให้วิตามินเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นใหม่ได้ ในหน่วยเซลล์ จึงช่วยเสริมให้วิตามินเหล่านี้ทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและในไขมัน จึงมีความสามารถในการเสริมการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ และทำหน้าที่ทดแทนสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ได้ในยามขาดแคลน ยกตัวอย่างเช่น หากระดับของวิตามินซี หรือวิตามินอี ที่เก็บสะสมอยู่ในร่างกายมีระดับต่ำลง กรดแอลฟ่าไลโปอิก จะสามารถเข้าทำงานทดแทนได้ชั่วคราว
กรดอัลฟาไลโปอิก สามารถผ่านระบบกรองระหว่างเลือดกับสมองได้ จึงช่วยบรรเทาผลเสียที่เกิดขึ้นกับเนื้อสมองในยามที่เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตกได้ นอกจากนี้ กรดอัลฟาไลโปอิก ยังช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากเบาหวานได้
กรดอัลฟาไลโปอิก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ กลูตาไธโอน ซึ่งมีหน้าที่ขจัดสารพิษในตับ ความสามารถนี้ทำงานได้เองภายในเซลล์เพื่อช่วยกำจัดสารพิษที่อยู่ในร่างกาย กรดอัลฟ่าไลโปอิก ยังช่วยต้านการอักเสบระดับปานกลาง เนื่องจาก มีปริมาณของ ซัลเฟอร์ (Sulfur) เป็นองค์ประกอบ จึงสามารถลดและต้านการอักเสบได้
สรุปคุณประโยชน์ในด้านต่างๆ ของกรดอัลฟา ไลโปอิก
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ป้องกันการเสื่อมในระดับเซลล์
  • ช่วยทำให้สารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆที่อยู่ในร่างกาย นำกลับมาใช้ใหม่ในร่างกายได้อีกครั้ง
  • ช่วยต่อต้านการอักเสบที่ปลายประสาท มีส่วนช่วยเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด จึงเป็นสารที่ช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
  • ลดคอเลสเตอรอลไม่ดี(LDL) และไตรกลีเซอไรด์
  • ป้องกันการเกิดคลาบพลัค(plaque)ที่ก่อตัวบนผนังหลอดเลือด
  • ลดการอุดตันในหลอดเลือด ป้องกันอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแดงที่แข็งเปราะ กลับมาใช้งานได้ตามปกติ
  • ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ดี และยังช่วยลดอนุมูลอิสระระหว่างการออกกำลังกายได้ จึงช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น
  • ช่วยในการเผาผลาญกูลโคส(น้ำตาลในเลือด) ไปเป็นพลังงาน
  • รักษาสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด
  • บรรเทาอาการของโรคเส้นประสาท หรือปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy) ซึ่งมักจะพบในผู้ที่เป็นเบาหวานหรือดื่มสุราจัด
  • ล้างพิษในตับ ช่วยกำจัดสารพิษ ปกป้องร่างกายจากสารพิษของโลหะหนัก โดยทำหน้าที่เป็น Chelating Agent จับกับโลหะหนัก และขับออกจากร่างกาย
  • เพิ่มระดับสารกลูตาไธโอนในตับ จึงช่วยล้างพิษตกค้างในร่างกายออกไปได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยให้ผิวพรรณมีสุขภาพผิวดี สดใส และมีผลต่อการลดจุดด่างดำที่ผิวหนัง และชะลอความเสื่อมที่ผิวหนังได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้ร่างกายสดชื่น มีกำลัง ไม่อ่อนเพลีย

แหล่งที่พบ กรดอัลฟ่าไลโปอิก ในธรรมชาติ พบได้ใน เนื้อแดง และเครื่องใน เช่น ตับ, หัวใจ และไต ส่วนในพืชพบได้ในผักใบสีเขียวเข้ม, ผักโขม, บล็อกโคลี่, ยีสต์, brewer's yeast, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, รำข้าว, กะหล่ำ, น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกับกระเทียม เมื่อรวมกันจะให้ กรดแอลฟ่าไลโปอิก ได้เช่นกัน
ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์ กรดแอลฟ่าไลโปอิก ขึ้นเองได้ แต่เมื่ออายุ มากขึ้นร่างกาย จะสร้าง กรดอัลฟ่าไลโปอิก ได้น้อยลง สำหรับท่านที่อายุเลย 40 ขึ้น ไป แนะนำให้รับ ประทานอาหารที่มี กรดอัลฟ่าไลโปอิก เสริม
Credit:
  • Bionutrition, นายแพทย์เรย์ ดี. แสตรนด์
  • วิตามินไบเบิล, ดร.เอิร์ล มินเดลล์
  • www.wellbeing.com.au

No comments:

Post a Comment